Free Hosting

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

การใช้งานฟังก์ชั่นวันที่และเวลาของ PHP


การใช้งานฟังก์ชั่นวันที่และเวลาของ PHP
สวัสดีครับ วันนี้ผมขอเขียนบทความการใช้งานฟังก์ชั่นของ PHP เกี่ยวกับเรื่องวันที่ และ เวลา มาให้ได้อ่านกัน เนื่องจากมีนักศึกษาจำนวนหนึ่งที่เข้ามาชมเว็บไซต์และใช้เว็บนี้เพื่อการเรียนรู้ศึกษาด้วยตัวเอง ได้ส่งเมล์มาหาผมสอบถามเรื่องฟังก์ชั่น ของ PHP ต่างๆมากมาย ว่าเอามาใช้งานกันอย่างไร
วันนี้ผมจึงนำเรื่อง ฟังก์ชั่น date() เกี่ยวกับวันที่และเวลามาเขียนให้อ่านกัน ส่วนฟังก์ชั่นอื่นๆเดี๋ยวผมจะทยอยนำมาเขียนให้อ่านทีละเรื่องนะครับ และจะสลับกับบทความประเภทอื่นๆไปด้วย
มาเริ่มดูฟังก์ชั่นที่ผมจะนำเสนอให้อ่านกันวันนี้ครับ แต่เพื่อเพิ่มความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ให้ดาวน์โหลดโค้ดนี้ไปรันทดลองประกอบด้วยครับ 

การใช้ฟังก์ชั่น date();
ฟังก์ชั้นนี้เอาไว้อ่านค่าของวัน เดือน ปีและเวลาปัจจุบัน เช่น รูปแบบของวันเดือนปี date(“Y-m-d”); จะหมายถึงสตริงค์ที่กำหนดรูปแบบ ของการแสดงผลวันที่ ผลลัพธ์ที่ได้จากตัวอย่างข้างต้นนี้ คือ 2005-03-31 โดย Y =ปี ,m=เดือน ,d = วันที่
มาดูตัวอย่างหลายๆแบบกันครับ สำหรับรูปแบบที่ผมนำมาเสนอวันนี้จะเป็นรูปแบบที่เค้าใช้กันบ่อยๆมาให้ดูนะครับ
รูปแบบของวันที่
รูปแบบที่
การใช้งาน
ตัวอย่างการแสดงผล
1
d m y
31 03 05
2
d m Y
31 03 2005
3
d/m/Y
31/03/2005
4
d/m/ เอา Y+543
31/03/2548
5
d/M/Y
31/Mar/2005
6
M d,Y
Mar 31,2005
7
d F Y
31 March 2005
8
l F d, Y
Thursday March 31, 2005
รูปแบบเวลา
รูปแบบที่
การใช้งาน
ตัวอย่างการแสดงผล
1
H:i:s
13:59:25
2
h:i:s
01:59:25
3
h:i:s a
01:59:25 pm
4
h:i:s A
01:59:25 PM
5
d F Y, h:i:s A
31 March 2005, 01:59:25 PM
6
d/m/Y, h:i:s A
31/03/2005, 01:59:25 PM
รูปแบบ
ความหมาย
d
วันที่
m
เดือน
y
ปี ค.ศ. แบบย่อ เช่น 05
Y
ปี ค.ศ. แบบเต็ม เช่น 2005
Y+543
ปี ค.ศ ปัจจุบันแบบเต็ม+543 จะเท่ากับ ปี พ.ศ ปัจจุบัน เช่น 2548
Y+43
ปี ค.ศ ปัจจุบันแบบย่อ+43 จะเท่ากับ ปี พ.ศ ปัจจุบัน เช่น 48
M
ชื่อเดือนแบบย่อ เช่น Mar
F
ชื่อเดือนแบบเต็ม เช่น March
l
ชื่อวันแบบเต็ม เช่น Thursday
H
ชั่วโมงแบบเต็ม เช่น 14 : 00
i
นาที
s
วินาที
h
ชั่วโมงแบบย่อ เช่น 14:00 ก็จะเท่ากับ 2:00
a
จะแสดงผลเป็น a.m. และ p.m. แบบตัวพิมพ์เล็ก
A
จะแสดงผลเป็น A.M. และ P.M. แบบตัวพิมพ์ใหญ่
*หมายเหตุ A.M.(ante meridium) คือ เอาไว้ใช้ในการบอกเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงวัน และ P.M.( past meridium) ใช้ในการบอกเวลาตั้งแต่เที่ยงวันถึงเที่ยงคืน
เวลาเอาไปใช้งานตอนเขียนโปรแกรม รูปแบบก็จะเป็น date (“d m y”) , date (“d/m/Y) ฯลฯ และเมื่อต้องการจะให้แสดงผล ก็ใช้ echo date(“Y-m-d”); แบบธรรมดาๆเลย หรือจะเอาไปเก็บเป็นค่าของตัวแปรเพื่อเอาไปใช้งานต่างๆกัน รูปแบบเช่น $mystring=date(“Y-m-d”); เป็นต้น
ที่นี้เรามาทำวันเดือนปีจากที่เราได้ศึกษาไปจากข้างต้นนี้ เอามาทำให้แสดงผลเป็นภาษาไทยกันมั่ง
โค้ดตัวอย่างการแสดงผล วัน เดือน ปี แบบไทย
<?php
/* กำหนดรูปแบบของปี ให้อยู่ในรูปของ พ.ศ. เก็บค่าเอาไว้ในตัวแปร $year */
$yearfull = date(“Y”)+543; //ปี พ.ศ. แบบเต็ม
$yearsmall= date(“y”)+43; //ปี พ.ศ. แบบย่อ
/* สร้าง array เก็บชื่อวัน เดือนเป็นภาษาไทย */
//ชื่อเดือนแบบย่อ

$thaismallmonth=array(“ม.ค.”,”ก.พ.”,”มี.ค.”,”เม.ย.”,”พ.ค.”,”มิ.ย.”,”ก.ค.”,”ส.ค.”,”ก.ย.”,”ต.ค.”, “พ.ย.”,”ธ.ค.”);
//ชื่อเดือนแบบย่อแบบเต็ม
$thaifullmonth=array(“มกราคม.”,”กุมภาพันธ์.”,”มีนาคม”,”เมษายน”,”พฤษภาคม”,”มิถุนายน”,”กรกฎาคม”,”สิงหาคม”,”กันยายน”,”ตุลาคม”, “พฤศจิกายน”,”ธันวาคม”);
//ชื่อวันแบบย่อ
$thaismalldate=array(“อา”,”จ”,”อ”,”พ”,”พฤ”,”ศ”,”ส”);
//ชื่อวันแบบเต็ม
$thaifulldate=array(“อาทิตย์”,”จันทร์”,”อังคาร”,”พุธ”,”พฤหัสบดี”,”ศุกร์”,”เสาร์”);

/* แสดงผล */
// รูปแบบการแสดงผลวันเดือนปีแบบเต็ม

echo “วัน”.$thaifulldate[date("w")].”ที่&nbsp;”.date (“d”).”&nbsp;”.$thaifullmonth[date('m')-1].”&nbsp;พ.ศ.”.$yearfull.”<br>”;
// รูปแบบการแสดงผลวันเดือนปีแบบย่อ
echo $thaismalldate[date("w")] .date (“d”).$thaismallmonth[date('m')-1] .$yearsmall;
?>
ผลลัพธ์ที่ได้ เช่น
วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2548
พฤ31มี.ค.48
ไฟล์ข้างล่างนี้เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการรันไฟล์ function_date.php ตัวอย่างที่ได้ดาวน์โหลดไปครับ
ลองศึกษาและประยุกต์เอาไปใช้งานกันได้นะครับ หรือจะศึกษาการใช้งาน ฟังก์ชั่น date(); เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์หลักของ PHP ครับ php.net 
สำหรับวันนี้แค่นี้ก่อนนะ ขอตัวทำงานต่อครับ :) แล้วเจอกันใหม่ในบทความวันพรุ่งนี้ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม สวัสดีครับ บาย….

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง http://th.php.net/manual/en/function.date.php

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


พื้นที่โฆษณา

Free Hosting

พื้นที่โฆษณา

Free Hosting
 

Copyright © สอนเขียนโปรแกรม html php css Java SQL jQuery XML Ajax Design by ScriptMasterWebDesign | Theme by ScriptMasterWebDesign | Powered by HosTing